วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โรคสมัยใหม่"โรคกรดไหลย้อน"

ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อน พบเมื่อต้นเดือนที่แล้ว เนื่องจากมีอาการแสบคอ แสบจมูกหลังตื่นนอนตอนเช้าเป็นประจำ เข้าใจว่าแพ้อากาศ รับประทานยาภูมิแพ้ก็ไม่หายสักที ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น มีอาการท้องอืดเมื่อรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ บางครั้งท้องอืดทั้งวัน ปวดท้อง และท้องผูก เข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังเพราะเป็นมานานมาก แต่เมื่อพบผู้ให้การรักษาพยาบาลจึงทราบว่าเป็นโรคทันสมัยมากๆ "โรคกรดไหลย้อน" และมีโอกาสได้อ่านบทความจากห้องสมุดสกุลไทย โดยปถพีรดา ที่นำบทความของผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงประภาพร พรสุริยะศักดิ์และผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ปารยะ อาศนะเสนมานำเสนอ จึงเข้าใจมากขึ้นและ ขออนุญาตถ่ายทอดต่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบด้วย

โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง หมายถึง โรคที่เกิดจากกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้รู้สึกระคายเคือง แสบคอและจมูก เป็นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน รับประทานหรือไม่รับประนอาหารก็ได้ สาเหตุเกิดจากกล้านเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวอย่างผิดปกติ จึงไม่สามารถป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดได้ โรคกรดไหลย้อนที่เกิดที่คอและหรือสายเสียง มักเกิดในขณะที่นอนหรือเวลากลางคืน ปริมาณกรดมีน้อยแต่ไม่อยู่ในหลอดอาหารเป็นเวลานานจึงทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอกหรือลิ้นปี่ หลอดอาหารมีแผลอักเสบ มีอาการเรอหรือขย้อนน้อยกว่าโรคกรดไหลย้อนแบบธรรมดา

อาการของโรค ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่ อาจร้าวไปถึงคอ รู้สึกเหมือนมีก้อนในคอ แน่นคอ กลืนลำบาก เจ็บ หรือติดขัด เจ็บคอ แสบคอ ปาก ลิ้นเรื้อรังในตอนเช้า มีรสขมหรือเปรี้ยวปาก มีเสมหะในคอ ระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื้นไส้ จุกแน่นหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย มีน้ำลายมากและมีกลิ่นปาก เสียวฟันและฟันผุ เสียงแหบ ดดยเฉพาะตอนเช้า เสียงเปลี่ยน ไอเรื้อรัง หลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน สำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกตอนกลางคืน กระแอมไอบ่อย เจ็บหน้าอก โปอดอักเสบเป็นๆหายๆ คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือน้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ ปวดหู

การรักษา ปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรปฏิบัติตลอดชีวิตแม้จะรักษาหายแล้วก็ตาม คือ

1 ลดน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักมากจะกดช่องท้องทำให้กรดไหลย้อน อย่าเครียด ไม่สูบบุหรี่ ไม่สวมเสื้อผ้าคับหรือรัดแน่นดดยเฉพาะเอว และรักษาโรคท้องผูก การเบ่งจะดันให้กรดไหลย้อนได้

2 ปรับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก ไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มก่อนนอน 3 ชั่วโมง รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารทอด มัน หัวหอม กระเทืยม มะเขือเทศ พิซซ่า ช็อกโกเลต ถั่ว เนย นม ไข่ และอาหารรสจัดทุกชนิด (เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวานมาก) หลีกเลี่ยงการดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในตอนเย็น

3 ปรับนิสัยการนอน นอนหลังรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นจากพื้นราบ 6-10 นิ้ว โดยใช้วัสดุรองขาเตียงเช่น อิฐ ไม้ อย่าใช้หมอนรองศรีษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น

การรับประทานยา ใช้ยาลดกรดประเภท Proton Pump Inhibitor (PPI) ต้องใช้ยามากและรักษานาน รับประทานตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรลดหรือเลิกยาเอง ใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน แพทย์เป็นผู้ปรับลดขนาดยา อย่าซื้อยารับประทานเอง เพราะยาบางชนิดทำให้การหลั่งกรดมากขึ้น พบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียงจะควบคุมการใช้ยาได้

การผ่าตัด จะกระทำเมื่อ มัอาการรุนแรงใช้ยาไม่ได้ผล ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ได้ ผู้ป่วยเป็นซ้ำๆบ่อยๆหลังหยุดยา

สรุปว่า โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือกล่องเสียง รุนแรงกว่ากรดไหลย้อนธรรมดา เป็นได้มากเวลากลางคืนหรือนอนหลับ ไอ สำลักบ่อย ทำความรำคาญ แสบจมูกแสบคอ ปวดท้อง ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง แต่รักษาได้ ด้วยความตั้งใจปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ สำหรับผู้เขียนพบวิธีรักษาซึ่งได้ผลดี คือ รับประทานผงขมิ้นชัน ครั้งละ 2 แคปซุล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน.....///

ไม่มีความคิดเห็น: