วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

น้ำมันปลา Fish oil ดีต่อสุขภาพจริงหรือ

คนใต้รับประทานปลามาช้านาน เคยได้ยินผู้ใหญ่บอกว่ารับประทานปลาทูมากๆจะทำให้ฉลาดขึ้น ตามความเข้าใจเดิมๆ ผู้เล่าเรื่องนี้คิดว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะปลาทูมีมากมายในท้องถิ่นและเป็นอาหารราคาถูก จึงนิยมให้ลูกหลานรับประทานปลาทูเป็นประจำ ปัจจุบันมีน้ำมันปลาบริสุทธิ์ออกวางจำหน่าย มักเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ราคาค่อนข้างแพง อธิบายสรรพคุณว่าป้องกันโรคได้หลายโรค เช่น ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและสมองขาดเลือดชั่วคราว โรคเกี่ยวกับลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดแดงตีบตัน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ลดการอักเสบ ช่วยขจัดไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อรูมาตอยด์และข้อเสื่อม แต่จะช่วยได้จริงๆหรือ คงต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไป
น้ำมันปลา เป็นส่วนหนึ่งของไขมันที่สกัดจากส่วนหัวและส่วนเนื้อของปลา เช่น ปลาทูน่า ปลาทู และปลาซาร์ดีน ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอเมก้า 3 ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเด่นๆ 2 ชนิด ได้แก่ กรดดีโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA ( Decoxahexaenoic Acid ) และกรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก หรือ EPA ( Eicosapentaenoic Acid ) จากการศึกษาพบว่าการบริโภคน้ำมันตับปลาทะเลอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือดได้ โดยการป้องกันการสะสมของไขมันใต้ผนังหลอดเลือดแดง (Arteroma)จากการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและการป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Thrombosis) จากการเพิ่ม Thrombroxane A3 (TXA3)
น้ำมันปลาทะเลที่ใช้ควรมีปริมาณ EPA สูงขนาดที่ใช้ประมาณ 3 กรัมต่อวัน และต้องบริโภคอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาทดลองในคนจำนวนมากเป็นเวลานานเพียงพอ จึงไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าการบริโภคน้ำมันปลาทะเลจะช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดแดงได้และจะมีอันตรายในระยะยาวหรือไม่ DHA พบมากทีสมองและจอตาของสัตว์บกและคน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดบ่งบอกว่า DHA มีผลต่อสายตาและการเรียนรู้ในระยะยาว ถ้าจะเติม DHA ในผลิตภัณฑ์นมเลี้ยงทารกและเด็กเล็กต้องเติม AA (Arachidonic acid) โดยมีปริมาณอัตราส่วนของ DHA และ AA เท่ากับในนมแม่ ไม่ควรมี EPA และอัตราส่วน กรดไลโนเลอิก และกรดไลโนเลนิค ต้องเท่ากับในนมแม่
ไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้นที่แสดงว่าถ้าบริโภคน้ำมันปลาทะเลแล้วจะทำให้เด็กฉลาดมากขึ้นและทำให้ผู้สูงอายุมีความจำดีขึ้น
น้ำมันปลาทะเลอาจเป็นประโยชน์ในการลดการอักเสบ ( inflammatory ) และโรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทาน ( Immunologic disease ) เช่น SLE, rheumatoid arthritis เป็นต้นด้วยการที่ EPA ไปแทนที่ AA ยับยั้งการสังเคราะห์ cytokines ที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น IL-1,IL-2 และ TNF มีรายงานผลการศึกษาการบริโภคน้ำมันปลาทะเลวันละ 6 กรัม ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 2.6 กรัม นาน 12 เดือนในผู้ป่วย rheumatoid arthritis พบว่าผู้ป่วยมีอาการของข้อดีขึ้นและสามารถลดยาที่รักษาอยู่ได้โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่บริโภคน้ำมันมะกอกวันละ 6 กรัมเช่นกัน
ข้อควรระวังในการบริโภคน้ำมันปลาทะเล
1. เลือดออกง่าย(Excess Bleeding) เนื่องจากการลดการจับตัวของเกร็ดเลือด ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ที่รับประทาน Baby Aspirin เป็นประจำ
2. เพิ่มความต้องการวิตามินอี เนื่องจากร่างกายต้องนำวิตามินอีไปต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัว (PUFA) ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับ Antioxidant ไม่เพียงพอในระยะยาวอาจส่งเสริมการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เนื่องจากการเพิ่ม oxidize LDL
3. อาจเกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจาก EPA กดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
น้ำมันปลาแม้จะมีประโยชน์ในการรักษาดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากน้ำมันปลาทะเลมีกลิ่นแรงและต้องใช้ขนาดสูง ผู้ป่วยมักรู้สึกผะอืดผะอมและปั่นป่วนในท้องมากจนต้องหยุดรับประทานไปในที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงควรบริโภคปลาทะเลแทนน้ำมันปลาทะเลในปริมาณสัปดาห์ละ 3 มื้อ มื้อละ100 กรัม ความมหัศจรรย์ของน้ำมันปลา ปัจจุบันนี้ วงการแพทย์หันมาสนใจถึงความมหัศจรรย์ของน้ำมันปลามากขึ้น หลังจากที่พบว่าชาวเอสกิโมกรีนแลนด์และชาวญี่ปุ่น มีอัตราการตายจากโรคหัวใจขาดเลือดต่ำกว่าชนชาติอื่นๆ เพราะรับประทานเนื้อปลาทะเลเป็นอาหารหลัก
ข้อควรทราบของน้ำมันปลา
1. กรดไขมัน EPA และ DHA ในปลาน้ำจืดมีน้อยกว่าปลาทะเล
2. การกินปลาทะเล 200-300 กรัมต่อวัน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะสามารถเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า-3 ในอาหารได้ถึง 0.2 - 0.5 กรัมต่อวัน
3. น้ำมันปลาต่างจากน้ำมันตับปลา โดยทั่วไป น้ำมันปลาให้วิตามิน A , D เหมาะสมต่อร่างกาย แต่การรับประทานน้ำมันตับปลาเพียง 20 CC จะได้รับวิตามิน A , D มากเกินความต้องการถึง 4 เท่า
4. น้ำมันปลา 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่
น้ำมันปลา เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ซึ่งได้แก่- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป- ผู้ที่สูบบุหรี่จัด- ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูง- ผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะประจำ และขาดการออกกำลังกาย
ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไตรกลีเซอร์ไรด์-ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดอุดตัน-ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง

ไม่มีความคิดเห็น: