วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โรคสมัยใหม่"โรคกรดไหลย้อน"

ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อน พบเมื่อต้นเดือนที่แล้ว เนื่องจากมีอาการแสบคอ แสบจมูกหลังตื่นนอนตอนเช้าเป็นประจำ เข้าใจว่าแพ้อากาศ รับประทานยาภูมิแพ้ก็ไม่หายสักที ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น มีอาการท้องอืดเมื่อรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ บางครั้งท้องอืดทั้งวัน ปวดท้อง และท้องผูก เข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังเพราะเป็นมานานมาก แต่เมื่อพบผู้ให้การรักษาพยาบาลจึงทราบว่าเป็นโรคทันสมัยมากๆ "โรคกรดไหลย้อน" และมีโอกาสได้อ่านบทความจากห้องสมุดสกุลไทย โดยปถพีรดา ที่นำบทความของผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงประภาพร พรสุริยะศักดิ์และผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ปารยะ อาศนะเสนมานำเสนอ จึงเข้าใจมากขึ้นและ ขออนุญาตถ่ายทอดต่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบด้วย

โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง หมายถึง โรคที่เกิดจากกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้รู้สึกระคายเคือง แสบคอและจมูก เป็นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน รับประทานหรือไม่รับประนอาหารก็ได้ สาเหตุเกิดจากกล้านเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวอย่างผิดปกติ จึงไม่สามารถป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดได้ โรคกรดไหลย้อนที่เกิดที่คอและหรือสายเสียง มักเกิดในขณะที่นอนหรือเวลากลางคืน ปริมาณกรดมีน้อยแต่ไม่อยู่ในหลอดอาหารเป็นเวลานานจึงทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอกหรือลิ้นปี่ หลอดอาหารมีแผลอักเสบ มีอาการเรอหรือขย้อนน้อยกว่าโรคกรดไหลย้อนแบบธรรมดา

อาการของโรค ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่ อาจร้าวไปถึงคอ รู้สึกเหมือนมีก้อนในคอ แน่นคอ กลืนลำบาก เจ็บ หรือติดขัด เจ็บคอ แสบคอ ปาก ลิ้นเรื้อรังในตอนเช้า มีรสขมหรือเปรี้ยวปาก มีเสมหะในคอ ระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื้นไส้ จุกแน่นหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย มีน้ำลายมากและมีกลิ่นปาก เสียวฟันและฟันผุ เสียงแหบ ดดยเฉพาะตอนเช้า เสียงเปลี่ยน ไอเรื้อรัง หลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน สำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกตอนกลางคืน กระแอมไอบ่อย เจ็บหน้าอก โปอดอักเสบเป็นๆหายๆ คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือน้ำมูกไหลลงคอ หูอื้อ ปวดหู

การรักษา ปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรปฏิบัติตลอดชีวิตแม้จะรักษาหายแล้วก็ตาม คือ

1 ลดน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักมากจะกดช่องท้องทำให้กรดไหลย้อน อย่าเครียด ไม่สูบบุหรี่ ไม่สวมเสื้อผ้าคับหรือรัดแน่นดดยเฉพาะเอว และรักษาโรคท้องผูก การเบ่งจะดันให้กรดไหลย้อนได้

2 ปรับการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก ไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มก่อนนอน 3 ชั่วโมง รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารทอด มัน หัวหอม กระเทืยม มะเขือเทศ พิซซ่า ช็อกโกเลต ถั่ว เนย นม ไข่ และอาหารรสจัดทุกชนิด (เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวานมาก) หลีกเลี่ยงการดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในตอนเย็น

3 ปรับนิสัยการนอน นอนหลังรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นจากพื้นราบ 6-10 นิ้ว โดยใช้วัสดุรองขาเตียงเช่น อิฐ ไม้ อย่าใช้หมอนรองศรีษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น

การรับประทานยา ใช้ยาลดกรดประเภท Proton Pump Inhibitor (PPI) ต้องใช้ยามากและรักษานาน รับประทานตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรลดหรือเลิกยาเอง ใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน แพทย์เป็นผู้ปรับลดขนาดยา อย่าซื้อยารับประทานเอง เพราะยาบางชนิดทำให้การหลั่งกรดมากขึ้น พบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียงจะควบคุมการใช้ยาได้

การผ่าตัด จะกระทำเมื่อ มัอาการรุนแรงใช้ยาไม่ได้ผล ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ได้ ผู้ป่วยเป็นซ้ำๆบ่อยๆหลังหยุดยา

สรุปว่า โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือกล่องเสียง รุนแรงกว่ากรดไหลย้อนธรรมดา เป็นได้มากเวลากลางคืนหรือนอนหลับ ไอ สำลักบ่อย ทำความรำคาญ แสบจมูกแสบคอ ปวดท้อง ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง แต่รักษาได้ ด้วยความตั้งใจปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ สำหรับผู้เขียนพบวิธีรักษาซึ่งได้ผลดี คือ รับประทานผงขมิ้นชัน ครั้งละ 2 แคปซุล วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน.....///

น้ำมันปลา Fish oil ดีต่อสุขภาพจริงหรือ

คนใต้รับประทานปลามาช้านาน เคยได้ยินผู้ใหญ่บอกว่ารับประทานปลาทูมากๆจะทำให้ฉลาดขึ้น ตามความเข้าใจเดิมๆ ผู้เล่าเรื่องนี้คิดว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะปลาทูมีมากมายในท้องถิ่นและเป็นอาหารราคาถูก จึงนิยมให้ลูกหลานรับประทานปลาทูเป็นประจำ ปัจจุบันมีน้ำมันปลาบริสุทธิ์ออกวางจำหน่าย มักเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ราคาค่อนข้างแพง อธิบายสรรพคุณว่าป้องกันโรคได้หลายโรค เช่น ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและสมองขาดเลือดชั่วคราว โรคเกี่ยวกับลิ่มเลือด โรคหลอดเลือดแดงตีบตัน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ลดการอักเสบ ช่วยขจัดไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อรูมาตอยด์และข้อเสื่อม แต่จะช่วยได้จริงๆหรือ คงต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไป
น้ำมันปลา เป็นส่วนหนึ่งของไขมันที่สกัดจากส่วนหัวและส่วนเนื้อของปลา เช่น ปลาทูน่า ปลาทู และปลาซาร์ดีน ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอเมก้า 3 ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเด่นๆ 2 ชนิด ได้แก่ กรดดีโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA ( Decoxahexaenoic Acid ) และกรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก หรือ EPA ( Eicosapentaenoic Acid ) จากการศึกษาพบว่าการบริโภคน้ำมันตับปลาทะเลอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและสมองขาดเลือดได้ โดยการป้องกันการสะสมของไขมันใต้ผนังหลอดเลือดแดง (Arteroma)จากการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและการป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Thrombosis) จากการเพิ่ม Thrombroxane A3 (TXA3)
น้ำมันปลาทะเลที่ใช้ควรมีปริมาณ EPA สูงขนาดที่ใช้ประมาณ 3 กรัมต่อวัน และต้องบริโภคอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาทดลองในคนจำนวนมากเป็นเวลานานเพียงพอ จึงไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าการบริโภคน้ำมันปลาทะเลจะช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดแดงได้และจะมีอันตรายในระยะยาวหรือไม่ DHA พบมากทีสมองและจอตาของสัตว์บกและคน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดบ่งบอกว่า DHA มีผลต่อสายตาและการเรียนรู้ในระยะยาว ถ้าจะเติม DHA ในผลิตภัณฑ์นมเลี้ยงทารกและเด็กเล็กต้องเติม AA (Arachidonic acid) โดยมีปริมาณอัตราส่วนของ DHA และ AA เท่ากับในนมแม่ ไม่ควรมี EPA และอัตราส่วน กรดไลโนเลอิก และกรดไลโนเลนิค ต้องเท่ากับในนมแม่
ไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้นที่แสดงว่าถ้าบริโภคน้ำมันปลาทะเลแล้วจะทำให้เด็กฉลาดมากขึ้นและทำให้ผู้สูงอายุมีความจำดีขึ้น
น้ำมันปลาทะเลอาจเป็นประโยชน์ในการลดการอักเสบ ( inflammatory ) และโรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทาน ( Immunologic disease ) เช่น SLE, rheumatoid arthritis เป็นต้นด้วยการที่ EPA ไปแทนที่ AA ยับยั้งการสังเคราะห์ cytokines ที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น IL-1,IL-2 และ TNF มีรายงานผลการศึกษาการบริโภคน้ำมันปลาทะเลวันละ 6 กรัม ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 2.6 กรัม นาน 12 เดือนในผู้ป่วย rheumatoid arthritis พบว่าผู้ป่วยมีอาการของข้อดีขึ้นและสามารถลดยาที่รักษาอยู่ได้โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่บริโภคน้ำมันมะกอกวันละ 6 กรัมเช่นกัน
ข้อควรระวังในการบริโภคน้ำมันปลาทะเล
1. เลือดออกง่าย(Excess Bleeding) เนื่องจากการลดการจับตัวของเกร็ดเลือด ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ที่รับประทาน Baby Aspirin เป็นประจำ
2. เพิ่มความต้องการวิตามินอี เนื่องจากร่างกายต้องนำวิตามินอีไปต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัว (PUFA) ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับ Antioxidant ไม่เพียงพอในระยะยาวอาจส่งเสริมการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เนื่องจากการเพิ่ม oxidize LDL
3. อาจเกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจาก EPA กดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
น้ำมันปลาแม้จะมีประโยชน์ในการรักษาดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากน้ำมันปลาทะเลมีกลิ่นแรงและต้องใช้ขนาดสูง ผู้ป่วยมักรู้สึกผะอืดผะอมและปั่นป่วนในท้องมากจนต้องหยุดรับประทานไปในที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงควรบริโภคปลาทะเลแทนน้ำมันปลาทะเลในปริมาณสัปดาห์ละ 3 มื้อ มื้อละ100 กรัม ความมหัศจรรย์ของน้ำมันปลา ปัจจุบันนี้ วงการแพทย์หันมาสนใจถึงความมหัศจรรย์ของน้ำมันปลามากขึ้น หลังจากที่พบว่าชาวเอสกิโมกรีนแลนด์และชาวญี่ปุ่น มีอัตราการตายจากโรคหัวใจขาดเลือดต่ำกว่าชนชาติอื่นๆ เพราะรับประทานเนื้อปลาทะเลเป็นอาหารหลัก
ข้อควรทราบของน้ำมันปลา
1. กรดไขมัน EPA และ DHA ในปลาน้ำจืดมีน้อยกว่าปลาทะเล
2. การกินปลาทะเล 200-300 กรัมต่อวัน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะสามารถเพิ่มกรดไขมันโอเมก้า-3 ในอาหารได้ถึง 0.2 - 0.5 กรัมต่อวัน
3. น้ำมันปลาต่างจากน้ำมันตับปลา โดยทั่วไป น้ำมันปลาให้วิตามิน A , D เหมาะสมต่อร่างกาย แต่การรับประทานน้ำมันตับปลาเพียง 20 CC จะได้รับวิตามิน A , D มากเกินความต้องการถึง 4 เท่า
4. น้ำมันปลา 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่
น้ำมันปลา เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ซึ่งได้แก่- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป- ผู้ที่สูบบุหรี่จัด- ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูง- ผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะประจำ และขาดการออกกำลังกาย
ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไตรกลีเซอร์ไรด์-ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดอุดตัน-ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง